บทความนี้ไม่อนุญาติให้ไปลงที่เว็บไซต์อื่นหรือบล็อคอื่น ยกเว้นจะได้รับอนุญาติจากเจ้าของเว็บและรูปแล้ว
สร้างฝันไอดอลตอนที่3 จากเด็กกศน.สู่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สวัสดีครับ นี่คือบทสัมภาษณ์น้อง “นีนี่” น้องนักเรียน กศน. จาก ชลบุรี ที่สอบติด คณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาอักษรศาสตร์ เลือกสอบภาษาญี่ปุ่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยหลักฐานชื่อจริง และนามสกุลจริง ข้อมูลที่สอบติดรับตรง
ต่อจากนี้จะเป็นบทสัมภาษณ์ ของน้องเค้า 100% ครับ ขอให้น้องๆ รุ่นต่อไป ให้ศึกษาความขยัน และความตั้งใจจากน้องเค้าเป็นแบบอย่างนะครับ
————————————————————
พี่เบียร์ : ***น้องเรียนประถม และม.ต้น ม.ปลายที่ไหนบ้างครับ***
น้อง “นีนี่” :ประถมกับม.ต้นนี่เรียนอยู่ต่างประเทศค่ะ ที่ประเทศฝรั่งเศส พ่อกับแม่ทำงานที่นู่นเลยทำให้อยู่เรียนที่นั้นนานถึงจบม.3 ค่ะ พอจบม.3 ทางครอบครัวก็ตัดสินใจกลับมาไทย แต่ทว่าพอกลับมาแล้ว มีปัญหาเรื่องวุฒิ ทำให้ต้องเริ่มเรียนใหม่หมดเลย คือตั้งแต่ประถมยันม.ปลายเลยค่ะ แต่ส่วนตัวก็ว่าดีนะคะ เพราะว่าได้เรียนและฝึกภาษาไทยด้วย เพราะว่ากลับมาก็อ่านภาษาไทยก็ไม่ออก เขียนก็ไม่ได้ ได้แต่พูดเท่านั้น 55
พี่เบียร์ :***ทำไมถึงเรียนกศน. เริ่มเรียนตั้งแต่ปีไหนครับ***
น้อง “นีนี่” :จากเหตุผลข้างต้นค่ะ เนื่องจากกลับมาไม่มีวุฒิเป็นทางการ เลยทำให้ต้องเริ่มเรียนใหม่เลย เริ่มเรียนตั้งแต่ ระดับชั้นประถม ถึงปัจจุบันจบระดับม.ปลายแล้วค่ะ เรียนระดับละ 2 ปี รวมๆกันแล้วก็ 6 ปี เรียนตั้งแต่คนเรียกเราว่าน้อง ตอนนี้เรียกพี่เกือบหมดแล้วค่ะ 555
พี่เบียร์ :***อยากเข้าอักษรศาสตร์ เพราะสาเหตุใดครับ****
น้อง “นีนี่” :ด้วยเหตุที่ว่าเราโตที่ต่างประเทศมา ทำให้มีพื้นฐานด้านภาษาอยู่แล้ว เลยคิดว่าจะต่อไปด้านนี้เลย เป็นด้านที่เราถนัดสุดด้วยค่ะ วันก่อนไปสัมภาษณ์รับตรงมา อาจารย์ก็งงว่าเราเคยไปอยู่ฝรั่งเศสมา แล้วทำไมยื่นภาษาญี่ปุ่น ไม่ยื่นภาษาฝรั่งเศสเข้าง่ายกว่า เรียนภาษาญี่ปุ่นตอนไหนมา ที่จริงแล้วตอนเรียนกศน.ช่วงแรกๆ ก็เรียนภาษาญี่ปุ่นกับสถาบันสอนภาษาด้วย ที่เรียนเพราะตอนนั้นชอบดูอนิเมะ ชอบฟังเพลงญี่ปุ่น พอเราชอบอะไรเนี่ย ก็จะเรียนได้เร็ว ซึมซับได้ง่าย 55 (ไม่รู้ว่าคิดไปเองหรือเปล่า)
พอได้พื้นฐานแล้วก็ซื้อหนังสือมาเรียนเองเลยค่ะ อ่านเพื่อสอบวัดระดับ สอบเกือบทุกปีก็ว่าได้ จนตอนนี้ระดับ N2 แล้วค่ะ N1เป็นระดับสูงสุดแล้วคงต้องเอาไว้ก่อน 555 สอบก็สอบที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนี่แหละค่ะ ตอนนั้นก็ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับจุฬาฯเลย แต่รู้แค่ว่าเราก็ชอบบรรยากาศที่นี่ อยากจะมาเรียนที่นี่ ก็เลยเริ่มหาข้อมูล มีคณะอะไรบ้าง ก็มีคณะอักษรศาสตร์ที่ดึงดูดเราที่สุดค่ะ
แล้วที่เรายื่นญี่ปุ่นก็เพราะว่าอยากจะเข้าเอกญี่ปุ่นด้วย เป็นเอกเดียวที่รับเฉพาะคนที่ยื่นคะแนน PAT ญี่ปุ่นมา เอกอื่นไม่ได้มีเงื่อนไขอะไร เลยคิดว่าเอาทางเลือกที่กว้างที่สุดไว้ก่อนดีกว่า หากเราเปลี่ยนใจเปลี่ยนเอกก็ยังได้ แล้วอีกประเด็นที่สำคัญสำหรับเด็กกศน.อย่างเรา คือ คณะนี้รับม.6 เทียบเท่าค่ะ
พี่เบียร์***แนวทางการเตรียมตัวสอบ อ่านหนังสือ มีอะไรบ้าง***
น้อง “นีนี่” :เราเริ่มศึกษาการสอบเข้าตอนยังไม่จบระดับม.ต้นเลย
ถ้าหากเทียบกับโรงเรียนในระบบก็ประมาณเริ่มเข้าม.4 ดูว่าอะไรคือ GAT อะไรคือ PAT งงมากช่วงแรกๆ ก็ต้องเริ่มศึกษาเองว่าอะไรคืออะไร วิชาไหนที่ใช้สอบเข้าบ้าง คณะอักษรศาสตร์ของจุฬาฯใช้ 4 วิชาในการสอบโดยวิธีรับตรง ก็มี 3 วิชาใน 9 วิชาสามัญ (ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา) และ PAT7 ภาษาต่างประเทศ (เราสอบญี่ปุ่น) เริ่มจากดูว่าวิชาไหนเราอ่อน เราก็เน้นวิชานั้นให้มากๆ ถามว่ารู้ได้ไงว่าอ่อนอะไร ทำข้อสอบเก่าเลยค่ะ ปริ้นต์แล้วลองทำดู ถึงแม้เราไม่มีความรู้อะไรเลยก็ถามเถอะค่ะ ยิ่งเจ็บยิ่งจำ 555 แล้วมาเปรียบเทียบคะแนนเอาที่หลัง
เริ่มจาก 9 วิชาสามัญก่อนแล้วกัน ข้อสอบที่ยากสุดละ
สำหรับเราแล้ว วิชาที่ไม่ถนัด(เลย) คือ สังคมศึกษา เป็นวิชาที่โหดอำมหิตมาก นอกจากแบ่งเป็น 5 สาระแล้ว มันยังลึกอีก ทั้งกว้างทั้งลึก ก็เริ่มอ่านแต่ละสาระ ศาสนา ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง เศรษฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ส่วนตัวใช้วิธีดูคลิปติวมากกว่า อย่าง brand summer camp รายการสอนศาสตร์ รายการ Admissions on Air เกื่อบทุกคลิปได้ ดูตั้งแต่เริ่มเข้าม.ปลายอะค่ะ ไม่ได้ไปเรียนพิเศษอะไร เรียนที่บ้านหมด
แต่มีช่วงหนึ่งที่ไม่ได้อ่าน ตอนนั้นเป็นช่วงสับสนกับตัวเองว่าจะเข้าคณะอื่นดีใหม่ อย่างบัญชีอะไรที่จบมาแล้วมีงานรองรับ เลยหันมาอ่านวิชาอื่นอย่างคณิต ซึ่งยังไงก็ไม่ไหว เลยหันกลับมาเป้าหมายเดิมคือ อักษร เอาใหม่กับสังคม.. ปรากฏว่าที่อ่านมา.. ลืมค่ะ หมดกันความรู้ฉัน 555 ถ้าจะให้ดีคือหมั่นอ่านและทบทวนพร้อมทำแบบข้อสอบแต่ละประเด็นเลย ชอบแวะทำข้อสอบของ trueplookpanya มีครบดี
ภาษาอังกฤษนี่ต้องอาศัยการอยู่กับมันบ่อยๆ บ่อยเท่าที่เราทำได้ ส่วนตัวชอบดูซีรีย์ อนิเมะแบบซับภาษาอังกฤษ แล้วก็ชอบติดตามยูทูปเบอร์ชาวอเมริกัน/อังกฤษ ฟังออกบ้าง ไม่ออกบ้าง ให้ฟังก็พอเราจะได้อะไรใหม่ๆทุกครั้ง เราติดตามมาค่อนข้างนานนะ 3 ปีได้ 55 นอกจากนี้แล้วก็มีซื้อหนังสือมาอ่าน
ซื้อสองเล่ม 1.แนวข้อสอบ 9 วิชาสามัญ (เล่มสีเหลือง) มาทำ ทำทุกชุดก่อนจะสอบ 2.หนังสือ vocab เล่มสีชมพูและก็ท่องคำศัพท์ของครูสมศรี (ชีทสีน้ำเงิน)
ภาษาไทย 9 วิชาสามัญ ไม่ได้เน้นเท่าไหร่ เพราะเท่าที่ดูรีวิวแล้วมันจะออกเรื่องการอ่านจับใจความ จุดประสงค์ของผู้เขียน มากกว่าหลักการใช้ภาษา ช่วงจะสอบ 9 วิชาฯ ทุมเทกับสังคมมากกว่าเพื่อน ภาษาไทยเราก็ทำข้อสอบเก่าที่มีอันน้อยนิด 2 ชุดเอง 55 แล้ววันก่อนสอบ ดูสรุปภาษาไทย 9 วิชาสามัญ กับ ครูปอนด์ (By คุณครูสมศรี) จะออกตามนี้เลยค่ะ แต่ละปีออกแนวเดิมๆ
พอหนึ่งเดือนก่อนสอบ ก็เริ่มทำข้อสอบเก่าแล้ว ทำวันละ1ชุด 3วิชาสลับกันไป เราทำงานประจำด้วยเลยอ่านเฉพาะช่วงเย็น ถ้าหากมีเวลาช่วงกลางวัน ก็อ่านๆบ้าง ใกล้สอบนี้คืออ่าน/เปิดดูคลิปติวทุกเย็นหลังเลิกงาน เรามีความรู้สึกว่าถ้าไม่ทำไม่ได้ละ กลายเป็นนิสัยหลังเลิกงานต้องอ่านหนังสือ
มา GAT PAT บ้าง เราลง 3 ตัว คือ GAT PAT1 PAT7 สอบก่อน 9 วิชาสามัญแต่เราอ่านพร้อมๆกันเลย
GAT ดูช่องยูทูปของอ.ขลุ่ยเลยค่ะ แล้วก็ปริ้นต์ข้อสอบเก่าที่อาจารย์เรียงให้พร้อมเฉลยมาทำ(มี14 ชุด) ทำอาทิตย์ละ 2 ชุด3 เดือนก่อนสอบ พอทำเสร็จหมด ก็ทำใหม่อีกครั้ง แรกๆก็พลาดเยอะค่ะ หลังๆเริ่มเก็ตแล้วผิดน้อยหน่อย สอบจริงได้เต็มค่ะ
GAT Eng เน้นทำข้อสอบเก่าอย่างเดียว เรื่องคำศัพท์ก็วิธีเดียวกับ 9 วิชาสามัญ เพราะ GAT จะง่ายกว่า พอเราเจอแนวข้อสอบ 9 วิชาแล้ว GATนี่ง่ายไปเลย จับเวลาทำข้อสอบด้วยนะคะ
PAT 1 เทค่ะ 555 เรามั่วอย่างเดียวค่ะ แต่ก็เตรียมเรื่องสถิติมานะคะ แต่ผิดหวังเพราะปีนี้ออกน้อยมากกก ออกก็ทำไม่ได้อยู่ดี อาศัยดวงค่ะวิชานี้ ที่ลงก็เผื่อเราไปยื่นที่อื่นได้ด้วยค่ะ ไม่ค่อยซีเรียสกับวิชานี่นัก
PAT 7 ญี่ปุ่น เราพอมีพื้นฐานอยู่แล้ว ก็ทบทวนที่เราเคยเรียนมา ตอนเรียนก็เรียนกับ Minna No Nihongo ถึงเล่ม4 เปิดมาอ่านทบทวนในเรื่องที่เราลืมไปแล้วหรือไม่ถนัด แล้วทำข้อสอบเก่าด้วยทุกพ.ศ.ที่หาได้ น่าจะประมาณ7-8 ชุดได้
พี่เบียร์ : ***คำถามที่เจอเมื่อสอบสัมภาษณ์***
พี่เบียร์ :***กดดันไหม ที่เราเรียนกศน. แต่สอบติดมหาวิทยาลัยอันดันต้นๆ ของประเทศ***
น้อง “นีนี่” : รู้สึกภูมิใจและดีใจมากกว่ากดดันนะคะ 555 เรื่องแบบนี้ไม่สมควรรู้สึกกดดันนะ นอกจากว่ามีอะไรมาเดิมพันด้วย อันนี้แหละสมควรรู้สึกกดดันละ 555 เรารู้สึกภูมิใจมากกว่าที่เหมือนเป็นตัวแทนของเด็กกศน.ที่มาจุดๆนี้ได้ กศน.อาจเสียเปรียบหน่อยตรงที่ว่าเรียนแค่วันเดียวทำให้ความรู้ไม่แน่น แต่ถ้าหากเรามีเวลาก็ควรศึกษาเอง อ่านเอง สมัยนี้มีช่องทางการเรียนด้วยตัวเองเยอะแยะไป เสียดายนะถ้าเราไม่ใช้มันให้คุ้มค่า เจอกระทู้ดราม่ามากมายเกี่ยวกับการเรียนต่อของกศน. ก็เซิร์ชดูเกือบทุกกระทู้ที่มีได้ในเน็ตเพราะต้องการได้คำตอบชัดเจนว่าเราต่อมหาวิทยาลัยรัฐได้หรือเปล่า รับตรงรับไหม จนมีบ้างกระทู้ที่ยืนยันว่าสอบได้แน่นอนก็เริ่มอุ่นใจละ วันสัมภาษณ์ของจุฬาฯเราเองก็ยังกลัวว่าจะไม่ผ่านคุณสมบัติเรื่องเกรด เพราะตามระเบียบการแล้วเขาขอ 5 เทอม แต่กศน.เราเรียนจบระดับม.ปลายมีเพียง 4 เทอม แต่ขอยืนยันตรงนี้เลยว่าเขารับค่ะ! เพียงมีเอกสารรับรองว่าจบม.ปลาย + ใบแสดงผลการเรียนเราก็ผ่านคุณสมบัติแล้วค่ะ พอรู้ว่ามีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ รีบไปขอเอกสารที่สำนักงานกศน. ขอเรื่องวันหนึ่ง วันรุ่งขึ้นได้เอกสารแล้วค่ะ (ขึ้นอยู่กับว่าท่านผอ.อยู่หรือเปล่าด้วย) โล่กอกเลย สอบสัมภาษณ์ไม่เครียดเท่าการตรวจคุณสมบัติค่ะ 555
สุดท้ายนี้ก็ขอให้ทุกคนที่คิดจะเรียนต่อมหาวิทยาลัยให้สู้ๆนะคะ ความขยันทำให้เราเก่งขึ้นได้ค่ะ หมั่นอ่าน หมั่นทำ หมั่นทบทวน เหนื่อยวันนี้หน่อย ตัวเราเองและครอบครัวจะได้สบายในอนาคต แล้วถ้าหากกังวลเรื่องอายุ ว่าอายุมากกว่าเพื่อนเป็นไรไหม จะเข้ากันได้หรือเปล่า ตัดความคิดนี้ไปเถอะค่ะ ไม่มีใครแก่เกินเรียน แต่เชื่อว่าคนที่เรียนกศน.อยู่แล้วคงจะชินกับการเรียนกับคนต่างวัยเลยเฉยๆกับเรื่องนี้แล้ว มีเป้าหมายแล้วพุ่งไปเลยค่ะ ความสำเร็จจะเกิดได้ต่อเมื่อเราลงมือทำค่ะ สู้ๆ
ถ้าสื่อหรือน้องๆต้องการติดต่อ พี่นีนีสามารถกดติดตามเฟสพี่เค้าได้เลยนะครับ Nini Rotsukhon หรือ twitter @uniniverse
ผู้สัมภาษณ์ : SIPHOP KRATHONG
สร้างฝันไอดอลEP.2 ติดตามชีวิตจากเกมเมอร์สู่นักศึกษาแพทย์รามาธิบดี คลิกที่นี้ ⇐
———————————————————————————————
คลิกช่องทางการติดต่อ
ติดตามข่าวทางline คลิกที่นี้
พี่นัทแนะนำน้อง
เราอยากสอบเข้าอะไร เราฝันได้นะครับ แต่ต้องมีความพยายามด้วย ไม่อย่างงั้น น้องคงได้แค่ฝันแน่นอน