รู้หรือเปล่ารู้หน้าปกมีความหมาย ลองอ่านให้ดีๆนะครับ แล้วจะรู้
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัฐบาล
1.คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
5.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
7.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
8.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
9.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
10.สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (เทียบเท่าคณะ)
11.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
12.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
13.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
14.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
15.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
16.สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (เทียบเท่าคณะ)
17.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
มหาวิทยาลัยเอกชน
1.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
2.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
3.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
4.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
5.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
6.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
7.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
8.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
9.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
10.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคกลาง
11.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
12.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
13.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
14.คณะนิติศาสตร์ มหวิทยาลัยราชธานี
15.คณะนิติศาสตร์ มหวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
16.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
17.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
18.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
19.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
20.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
21.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
22.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
23.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
24.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
25.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
26.คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
27.คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยตาปี
28.คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข
29.คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
30.คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
31.คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยโยนก
32.คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยศรีโสภณ
33.คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
34.คณะนิติศาสตร์ (วิทยาลัยบัณฑิตบริหารธุรกิจ)
ชื่อคณะเปิดร่วม
1.คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
2.คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
3.สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (เทียบเท่าคณะ)
สาขาวิชาในคณะ
1.ภาควิชานิติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2.สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
3.สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
4.สาขาวิชานิติศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร
5.สาขานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
6.วิทยาลัยบัณฑิตพิษณุโลก
7.วิทยาลัยศรีอีสาน(คณาสวัสดิ์)
8.สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
9.สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
10.สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
11.สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
12.สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
13.สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
14.สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
15.สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
เมื่อน้องจบมาสิทธิ์สมัครเป็นสมาชิกวิสามัญเนติยสภา โดยไม่ต้องสอบตั๋วทนายความ
ถึงคุณจะยังเรียนไม่จบเนติบัญฑิตคุณก็มีสิทธิ์สอบบรรจุเป็นนายทหารรัฐธรรมนูญ
คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การศึกษานิติศาสตร์คือ
1. นิติศาสตร์จะศึกษาทฤษฎี แนวคิด หลักการ เกี่ยวกับสาระของ กฎหมายในส่วนสิทธิหน้าที่ และความรับผิดของบุคคลต่อกันตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งในการติดต่อทางธุรกิจทุกประเภท รวมตลอดจนหลักแห่งความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับรัฐและหน่วยงานรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ ในสังคมนานาชาติ
2. นอกจากนั้น นิติศาสตร์ยังมุ่งศึกษาบทบาทของกฎหมาย ทั้งในฐานะที่ะเป็นกรอบกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ ของรัฐมิให้ล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนในฐานะที่กฎหมายเป็นเครื่องมือ ในการนำนโยบายมาปฎิบัติให้ได้ผลจริงจัง ดังนั้น โดยนัยนี้กฎหมายจึงเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศอย่างยิ่ง คือ อาจส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาได้ การศึกษานิติศาสตร์จึงให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ปัญหานี้ด้วย
3. นิติศาสตร์ยังให้ความสำคัญต่อคุณค่าเชิงคุณธรรมของกฎหมาย ย่อมมีขึ้นเพื่อความเป็นธรรม และความสงบเรียบร้อยในสังคม การศึกษานิติศาสตร์จึงเน้นที่กระบวนการของกฎหมายว่าต้อง “ บริสุทธิ์ “ เพื่อความมุ่งหมายสุดท้าย คือยุติธรรม การศึกษาจึงมิได้เน้นเฉพาะตัวบทกฎหมายเพียงประการเดียว แต่ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์กฎหมายในเชิงคุณธรรมด้วย
แนวทางในการประกอบอาชีพ
ผู้จบการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ อาจแบ่งแนวทางในการทำงานได้ 2 ประเภท
1. ผู้ซึ่งใช้วิชากฎหมายในการประกอบอาชีพโดยตรง ซึ่งผู้ที่มิได้สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์ ไม่สามารถประกอบอาชีพเหล่านี้ได้ เลย ได้แก่ ผู้พิพากษา อัยการ ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ นิติกร ฯลฯ
2. ผู้ซึ่งใช้ความรู้ทางกฎหมายให้เป็นประโยชน์ แก่การประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ เช่น ตำรวจ ปลัดอำเภอ นักธุรกิจพนักงานบริษัท ห้างร้าน ข้าราชการ ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางกฎหมายสามารถที่จะเลือกประกอบอาชีพต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางกว่าสาขาอื่น ๆ เพราะนอกจากจะสามารถประกอบอาชีพที่กันไว้เฉพาะสำหรับนักกฎหมายแล้ว ยังสามารถประกอบอาชีพอื่น ๆ ที่ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาอื่นสามารถประกอบอาชีพนั้น ๆ ได้อีกด้วย
ที่มาของแนะนำการเรียนและอาชีพ https://education.kapook.com/view11599.html
Sponser by
ใครอยากเรียนคณิตศาสตร์ สมัครแล้วเรียนได้ทั้งชีวิต คลิกที่รูปได้เลยนะ
———————————————————————————————
ติดตามช่องทางรับการข่าวจากลิงค์ด้านล่างได้เลยนะครับ มีข่าวรับตรง ค่าย ทุนตั้งแต่ม.ปลายถึงปริญญาเอก รอให้น้องสมัครอยู่
คลิกติดตามข่าวทางfacebook
คลิกติดตามข่าวทางline
IG @sangfans หรือ https://www.instagram.com/sangfans/
———————————————————————————————
อยากรู้รับตรงไหน สามารถคลิกรูปตรามหาวิทยาลัยด้านล่างเลยนะ
พี่นัทแนะนำน้อง
อย่าลืมดูด้วยนะหลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัยได้คุณภาพบ้าง บางที่อาจจะมีปัญหาเรื่องหลักสูตร