เว็บไซต์นี้ไม่ใช่เว็บมหาวิทยาลัยนะครับ
เป็นเว็บไซต์รวมข่าวรับสมัครรับตรง ทุนต่างๆทั่วประเทศให้น้อง
ภาคเหนือ
1.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเทคนิคการแพทย์ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค
ค่าเทอมภาคเรียนละ 20,000 บาท
เว็บไชต์คณะ : www.ams.cmu.ac.th/rt/
ที่มาของรูป http://www.ams.cmu.ac.th/main/web/index.php/site/article?id=15
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1.มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะแพทยศาสตร์ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิคค่าเทอมประมาณภาคเรียนละ 18,000 บาท
ภาคกลาง
- มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเทคนิคการแพทย์ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค
ค่าเทอมภาคเรียนละ 18,000 บาท
เว็บไชต์คณะ : www.mt.mahidol.ac.th/
2.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสหเวชศาสตร์ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค
ค่าเทอมภาคเรียนละ 21,000 บาท
เว็บไชต์คณะ : www.ahs.chula.ac.th/
3.มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค
ค่าเทอมเทอมแรก ประมาณ 55,000 บาท
เว็บไชต์คณะ : www.rt.sci.ru.ac.th/
4.มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค
ค่าเทอมภาคเรียนละ 22,000 บาท
เว็บไชต์คณะ :www.ahs.nu.ac.th/rt/
ที่มาของรูป วิกิพีเดีย
5.มหาวิทยาลัยรังสิต คณะรังสีเทคนิค วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค
ค่าเทอมตลอดทั้งหลักสูตร 681,200 บาท
เว็บไชต์คณะ : www2.rsu.ac.th/faculty/Radiological-Technology
6วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค
ค่าเทอมภาคเรียนละ 18,000 บาท
เว็บไชต์คณะ :pccmsblog.wordpress.com/
7.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ รังสีเทคนิค วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค
ค่าเทอมภาคเรียนละ 45,000 บาท
เว็บไชต์คณะ : allied.tu.ac.th/
8. มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช คณะแพทยศาสตร์ สาขาวิชารังสีเทคนิค
9. วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก นนทบุรี ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค
ภาคตะวันออก
- TCAS ที่เปิดรับ โครงการความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค และมหาวิทยาลัยบูรพา
ภาคใต้
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2557) 27 มี.ค. 58 ถึง 26 มี.ค. 63
เว็บไชต์คณะ : www.radtech.psu.ac.th/
สาขารังสีเทคนิค | ||||
ชื่อสถาบัน
|
หลักสูตร
|
ระยะเวลาการรับรอง
|
||
4.1 มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะวิทยาศาสตร์ | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2553 | 7 มี.ค. 54 ถึง 6 มี.ค. 59 | ||
4.2 มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะสหเวชศาสตร์ | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554 | 31 มี.ค. 54 ถึง 30 มี.ค. 59 | ||
4.3 มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเทคนิคการแพทย์ | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2555 | 16 ก.ค. 55 ถึง 15 ก.ค. 60 | ||
4.4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเทคนิคการแพทย์ | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) | 25 มี.ค. 56 ถึง 24 มี.ค. 61 | ||
4.5 มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะแพทยศาสตร์ | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) | 25 มี.ค. 56 ถึง 24 มี.ค. 61 | ||
4.6 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2557) | 27 มี.ค. 58 ถึง 26 มี.ค. 63 | ||
4.7 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสหเวชศาสตร์ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2557) | 8 ก.ค. 58 ถึง 7 ก.ค. 63 | ||
4.8 มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะวืทยาศาสตร์ | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558) | 24 เม.ย. 59 ถึง 25 เม.ย. 64 | ||
4.9 มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะสหเวชศาสตร์ | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) | 24 เม.ย. 59 ถึง 25 เม.ย. 64 | ||
4.10 มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะสหเวชศาสตร์ | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559) | 24 เม.ย. 59 ถึง 25 เม.ย. 64 | ||
4.11 มหาวิทยาลัยรังสิต คณะรังสีเทคนิค | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2559) | 27 มิ.ย. 59 ถึง 26 มิ.ย. 64 | ||
4.12 วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2559) | 31 ต.ค. 59 ถึง 30 ต.ค. 64 | ||
4.13 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2560) | 10 มี.ค. 60 ถึง 9 มี.ค. 65 | ||
4.14 มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเทคนิคการแพทย์ | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2560) | 4 ก.ค. 59 ถึง 3 ก.ค. 65 | ||
4.15 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเทคนิคการแพทย์ | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) | 28 มิ.ย. 61 ถึง 28 มิ.ย. 66 | ||
4.16 มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช คณะแพทยศาสตร์ | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค หลักสูตรใหม่ 2561 | 29 มิ.ย. 61 ถึง 28 มิ.ย. 66 | ||
4.17 มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะแพทยศาสตร์ | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) | 29 มิ.ย. 61 ถึง 28 มิ.ย. 66 |
แนวทางในการประกอบอาชีพ
- ผู้ที่จบปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (รังสีเทคนิค) สามารถเข้าทำงานในตำแหน่งนักรังสีเทคนิค หรือนักรังสีการแพทย์ ทั้งในหน่วยงานของรัฐและเอกชน ในปัจจุบันนี้ยังมีความขาดแคลนนักรังสีเทคนิคอยู่มาก โดยเฉพาะในโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งมีเครื่องมือทางรังสีที่ทันสมัยเช่น MRI, CT จึงต้องการนักรังสีเทคนิคในการควบคุมการใช้เครื่องมือเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยทั้งต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ป่วย ตลอดทั้งได้รับผลการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง
- ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอก ทั้งในและต่างประเทศในสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น ฟิสิกส์การแพทย์ วิทยาศาสตร์รังสี นิวเคลียร์เทคโนโลยี กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา รังสีชีววิทยา ชีวเคมี การป้องกันอันตรายจากรังสี เป็นต้น
1.สามารถเข้าทำงานในตำแหน่งอาจารย์ในสถาบันที่มีการเรียนการสอน ด้านรังสีเทคนิค
ที่มาของบทความ http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/G9/Dream_new/pageB12.htm
สาขาที่ประกอบอาชีพ
⇒รังสีวินิจฉัย (Diagnostic radiology) คือ สาขาที่ใช้รังสีเอกซ์ในการวินิจฉัยโรคทางการแพทย์ ทั้งการถ่ายภาพรังสี (Radiopgrahy) หรือเอกซเรย์ทั่วไป การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ (Computed tomography; CT scan) การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตราซาวนด์ (Ultrasonography) การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (Magnetic resonance imaging; MRI) รวมถึงรังสีร่วมรักษา (Interventional radiology) หรือการตรวจพิเศษทางรังสีต่างๆ (Special diagnostic radiology)
⇒รังสีรักษา (Radiotherapy/Radiation therapy) คือ สาขาที่ใช้รังสีในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง ทั้งระยะไกลและใกล้ (Brachytherapy & Teletherapy) โดยใช้เครื่องฉายรังสีในการรักษา อาทิ LINAC Co-60 เป็นต้น การฉายรังสีจะใช้อนุภาคโฟตอน (Photon) ในการรักษาเซลล์มะเร็งที่อยู่ลึก ส่วนเซลล์มะเร็งบริเวณผิวจะใช้อนุภาคอิเล็กตรอน (Electron) รักษา ปัจจุบันมีการพัฒนาในการนำโปรตอน (Proton Therapy) มารักษาผู้ป่วยมะเร็ง ในเด็ก (Pediatric cancer) มะเร็งกระดูก (Bone &soft tissue sacroma) มะเร็งศีรษะและลำคอ (Head & neck cancer) และอื่นๆ เช่น มะเร็งตับ มะเร็งปอด เป็นต้น เนื่องจากโปรตอนมีคุณสมบัติในการลดปริมาณรังสีสำหรับเนื้อเยื่อปกติได้ดีกว่าโฟตอน ทำให้ลดอาการข้างเคียงที่เกิดจากการฉายแสงและลดอัตราการเกิดมะเร็งทุติยภูมิ (Secondary cancer)
⇒เวชศาสตร์นิวเคลียร์ (Nuclear medicine) คือ สาขาที่ใช้รังสีและสารเภสัชรังสี (Radiopharmaceuticals) ในการสร้างภาพทางการแพทย์ โดยมีการตรวจต่างๆ อาทิ การถ่ายภาพรังสีระนาบด้วยการปล่อยโพซิตรอน (Positron emission tomography; PET) การสร้างภาพด้วยรังสีแกมมา (Single-photon emission computed tomography; SPECT) เป็นต้น
ที่มาของสถาบันที่ได้รับรองแล้ว
สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ คลิกที่นี้
ทีมาของค่าเทอม ระเบียบการแอดมิชชั่นปี2560