TCAS รับตรง ทุน ทุนเรียนต่อต่างประเทศ ค่าย สอบราชการ ปริญญาโท-เอก

แนะนำหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

แนะนำหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

หลักสูตรที่เปิดรับ 

⇒แพทยศาสตรบัณฑิต

ความยาก

⇒ระดับ 9.5 /10

 

ค่าเทอม

ประมาณ 16,000 บาท

 

การเตรียมตัว

ควรตั้งแต่ตั้งแต่ม.5 ได้แล้ว เพราะรับตรงแพทยศาสตร์จะมาไวมาก

⇒ในปี 2560 ระยะเวลาการรับตั้งแต่เดือนสิงหาคมจนถึงพฤศจิกายน เฉพาะแพทย์รามา

ส่วนวิทยาลัยวิทยาศาสตร์เจ้าฟ้าภรณ์ รับช่วงเดือนมกราคม

⇒ในปี2561 คาดว่าระยะเวลาการรับอยูทีเดือนตุลาคมเป็นต้นไป

 

 

วิธีการรับ

ระบบรับตรงโดยคณะและวิทยาลัยเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์(การรับคล้ายกัน)

จำนวนรับ 20 ที่นั่ง

คุณสมบัติของผู้สมัคร

รับตรงระบบรับตรงมหิดลเพื่อชนบท

จำนวนการรับ

 

คุณสมบัติ

เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า3.00 ใช้9 วิชาสามัญ แต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 30 % ยกเว้นภาษาอังกฤษ 40 % รวมทุกวิชามากกว่า 60 % ขึ้นไป

 

ระบบกสพท.

จำนวนรับทั้งหมด 148 ที่นั่ง

คุณสมบัติ

⇒ผู้สมัครต้องมีความรอบคอบและซื่อสัตย์

⇒กำลังศึกษามัธยมศึกษาชัันปีที่6 หรือเทียบเท่า (อาชีวะก็สมัครได้)

⇒ได้คะแนนโอเน็ตรวมทุกวิชา 60 คะแนนขึ้นไป เฉพาะน้องม.6เท่านั้น

⇒ได้คะแนนเก้าวิชาสามัญทุกวิชาต้องได้มากกว่า 30 คะแนน

คะแนนขั่นต่ำที่ควรสอบได้ในระบบกสพท

⇒ในระบบรับตรงควรจะได้คะแนนสอบมากนี้นิดนึงนะครับ

ที่มาของรูปจากโปรแกรมคำนวณกสพท http://www.admissionpremium.com/ctms/score/

 

 

 

การเรียนการสอน

การเรียนตลอดหลักสูตรของนักศึกษาแพทย์รามาธิบดี  ใช้เวลา6 ปี รวมจำนวน 253 หน่วยกิต แบ่งเนื้อหาการเรียนออกเป็น 3 ช่วง และเสริมด้วยวิชาเลือก คือ
ปีที่ 1  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป  กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์  สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ ภาษาอังกฤษและภาษาไทย

เรียนที่วิทยาเขตศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล  จังหวัดนครปฐม

ชั้นปรีคลินิก ปีที่ 2 และ 3  ศึกษาการทำงานของร่างกายมนุษย์ในภาวะปกติและเมื่อเป็นโรคต่างๆ โดยบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์พื้นฐาน เช่น กายวิภาคศาสตร์  สรีรวิทยา  จุลชีววิทยา เภสัชวิทยา  พยาธิวิทยา  และการเรียนวิชาบทนำเวชศาสตร์คลินิก เพื่อฝึกฝนการซักประวัติ และทักษะการตรวจร่างกายระบบต่างๆ ได้อย่างถูกขั้นตอน รวมทั้งฝึกหัตถการกับหุ่น

 

เรียนที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไท


ชั้นคลินิก ปีที่ 4 ถึงปีที่ 6
  เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงในโรงพยาบาล ได้ร่วมเป็นหนึ่งในทีมดูแลผู้ป่วย  ศึกษาอาการและการรักษาโรคผ่านการฝึกทักษะกับอาจารย์แพทย์สาขาต่างๆ  การพูดคุยกับผู้ป่วย ฝึกงานในห้องคลอดและห้องผ่าตัด  เข้าค่ายทักษะชีวิต เพื่อเรียนรู้ตนเองและผู้อื่น  และฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลในเขตชุมชนและต่างจังหวัด
วิชาเลือกเสรี  เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองทั้งด้านวิชาการ คุณธรรม  จริยธรรม  กีฬา  ตลอดจนศิลปวัฒนธรรม
วิชาเลือกคลินิก  เพื่อเสริมประสบการณ์ในสาขาวิชาที่ตนเองสนใจ

ปลายปีที่ 3 จนถึงปีที่ 6  เรียนและฝึกปฏิบัติงานใน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  ศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลชุมชนในต่างจังหวัด เช่น จังหวัดนครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี      สระบุรี  ขอนแก่น  ระยอง  ฉะเชิงเทรา  และ กาญจนบุรี

ปีที่ 6  เพิ่มพูนประสบการณ์ทางคลินิก ที่โรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครราชสีมา โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาและโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี

 

สัญญาผูกพัน
เมื่อนักศึกษาแพทย์สำเร็จการศึกษาแล้ว ต้องปฏิบัติงานชดใช้ทุนที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือ กระทรวงอื่นๆ เป็นเวลา 3 ปี  ถ้าลาออกก่อนครบกำหนดตามสัญญา จะต้องชดใช้เงินให้กับรัฐบาลตามสัดส่วนเวลาที่ปฏิบัติงานไม่ครบในวงเงิน 400,000 บาท

 

อย่าลืมติดตามซีรีย์นักศึกษาแพทย์ รักเธอคุณหมอฝึกหัด ด้วยนะครับ  แล้วคุณจะรู้ว่าทำไมเราต้องเรียนหมอ

https://www.youtube.com/watch?v=sM12is14lfk&t=92s

 

 

บทความรุ่นพี่แพทย์รามา comingsoon

 

รายละเอียดเพิ่มเติม

ที่มาจากระบบรับตรง  เว็บไซต์รับสมัครนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล   คลิกที่นี้

ที่มาของหลักสูตร เว็บไซต์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  มหาวิทยาลัยมหิดล คลิกที่นี้

 

  ———————————————————————————————

คลิกช่องทางการติดต่อ

รีวิวคณะและมหาวิทยาลัยต่างๆ  คลิกที่นี้

รวมรับตรงวิทยาศาสตร์สุขภาพ  คลิกที่นี้
ติดตามข่าวทางline คลิกที่นี้

พี่นัทแนะนำน้อง
ก่อนสมัครรับตรงทุกครั้ง ให้ถามใจตัวเองก่อนว่าเป็นคณะที่เราเรียนไหม
หวังว่าบทความนี้จะให้แรงบังดาลใจน้องเพื่อพิชิตฝันนะครับ
อย่าลืมดูเรื่องค่าใช้จ่ายระหว่างเรียนและจดจำไทม์ไลน์รับตรงด้วยนะครับ

Exit mobile version