มาแล้วจ้า กสพท 65 กำหนดการสอบ จำนวนรับ กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย มีอย่างไรบ้าง จำนวนรับเท่าไร ที่นี่มีคำตอบให้น้องแล้ว
ไม่พลาดทุกข่าวการสอบเข้าทางLine
>>คลิกติดตามข่าวทางlineที่นี้<<
เว็บไซต์นี้ไม่ใช่เว็บมหาวิทยาลัยนะครับ เป็นเว็บไซต์รวมข่าวรับสมัครรับตรง ทุนต่างๆทั่วประเทศให้น้อง
รอบ3 กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท)
ประกาศผล คะแนนสอบวิชาเฉพาะ <<คลิกอ่านที่นี่>>
พิมพ์บัตรประจำตัวผู้เข้าสอบ <<คลิกอ่านที่นี่>>
กำหนดการรับสมัคร
⇒สมัครทางออนไลน์ วิชาเฉพาะ : วันที่ 1-20 ตุลาคม 2564
⇒ชำระเงิน วิชาเฉพาะ : วันที่ 1- 22 ตุลาคม 2564
⇒ตรวจสอบสถานภาพการสมัครสอบ : หลังชำระเงิน 7 วัน
⇒ยิื่นคำอุทธรณ์ : วันที่ 1 พฤศจิกายน – 3 พฤศจิกายน 2564 จนถึงเวลา 16.00 น.
⇒สอบวิชาสามัญ : วันที่ 19-20 มีนาคม 2565
⇒สอบวิชาเฉพาะ : วันที่ 26 มีนาคม 2565 ให้เสร็จสิ้น เวลา 12.00 น.
⇒ประกาศผลวิชาเฉพาะ : ประมาณ วันที่ 20 เมษายน 2565
รับสมัคร TCAS รอบ3 : วันที่ 2-10 พฤษภาคม 2565
⇒ประกาศผล รอบที่3 ครั้งที่1 : วันที่ 18 พฤษภาคม 2565
⇒ประกาศผล รอบที่3 ครั้งที่1 : วันที่ 24 พฤษภาคม 2565
กำหนดวันสอบ กสพท
วันที่ 17 ธันวาคม 2565
เวลา 08.30-12.30 น. สอบ TPAT 1 วิชาเฉพาะกสพท
รอบที่3 Admission 1 รับร่วมกันกสพท
- ประกาศรับสมัคร : วันที่ 2-10 พฤภาคม 2565
- ประกาศผล :ครั้งที่ 1 วันที่ 18 พฤษภาคม 2565 และ ครั้งที่ 2 วันที่ 24 พฤษภาคม 2565
- ยืนยันสิทธิ์ : ครั้งที่ 1 วันที่ 18-19 พฤษภาคม 2565
- สละสิทธิ์ : วันที่ 6 พฤษภาคม 2565
*********************************
ค้นหารับตรง TCAS มหาวิทยาลัยต่างๆ
>>คลิกหารับตรง TCAS รอบต่างๆที่นี้<<
*********************************
1.คณะและสาขาที่เปิดรับ
หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต
⇒คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 20 ที่นั่ง ปรับเป็น 45 ที่นั่ง
⇒คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 176 ที่นั่ง
⇒คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย-กรมแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ 30 ที่นัี่ง
⇒คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 55 ที่นั่ง ปรับเป็น 70 ที่นั่ง
⇒คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 65 ที่นั่ง ปรับเป็น 68 ที่นั่ง
⇒คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 30 ที่นั่ง
⇒คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 109 ที่นั่ง
⇒คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล-วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ปี65 ไม่รับ
⇒คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 260 ที่นั่ง
⇒วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต โรงพยาบาลราชวิถี สถาบันเอกชน 40 ที่นั่ง
⇒วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต โรงพยาบาลเลิดสิน สถาบันเอกชน 13 ที่นั่ง
⇒วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต โรงพยาบาลนพรัตน์ สถาบันเอกชน 13 ที่นั่ง
⇒คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 150 ที่นั่ง
⇒คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 40 ที่นั่ง ปรับเป็น 59 ที่นั่ง
⇒คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 50 ที่นั่ง
⇒คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช โรงพยาบาลตากสิน สำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร 20 ที่นั่ง
⇒วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฏเกล้า เพศชาย 60 ที่นั่ง ปรับเป็น 63 ที่นั่ง เพศหญิง 40 ที่นั่ง ปรับเป็น 43 ที่นั่ง
⇒สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 12 ที่นั่ง
⇒คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 32 ที่นั่ง
⇒คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 16 ที่นั่ง ปรับเป็น 19 ที่นั่ง
⇒คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม สถาบันเอกชน 15 ที่นั่ง
หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต
⇒คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 80 ที่นั่ง ปรับเป็น 88 ที่นั่ง
⇒คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 80 ที่นั่ง ปรับเป็น 83 ที่นั่ง
⇒คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 15 ที่นั่ง ปรับเป็น 33 ที่นั่ง
⇒คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 ที่นั่ง ปรับเป็น 20 ที่นั่ง
⇒คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 58 ที่นั่ง
⇒คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 15 ที่นั่ง ปรับเป็น 35 ที่นั่ง
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 45 ที่นั่ง
⇒คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 40 ที่นั่ง ปรับเป็น 63 ที่นั่ง
⇒สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 10 ที่นั่ง
วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต 30 ที่นั่ง ปรับใหม่ 60 ที่นั่ง
*คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 60 ที่นั่ง เปิดรับปีนี้ปีแรก
*คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น 80 ที่นั่ง เปิดรับปีนี้ปีแรก
หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต
⇒จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 110 ที่นั่ง
⇒มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 35 ที่นั่ง
⇒มหาวิทยาลัยขอนแก่น 10 ที่นั่ง
⇒มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 10 ที่นั่ง ปรับใหม่ 40 ที่นั่ง
⇒มหาวิทยาลัยมหิดล 40 ที่นั่ง
⇒มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 10 ที่นั่ง ปรับใหม่ 15 ที่นั่ง
⇒มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร สถาบันเอกชน 10 ที่นั่ง
⇒มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 10 ที่นั่ง
⇒มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก 30 ที่นั่ง ปรับใหม่ 32 ที่นั่ง
⇒มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 10 ที่นั่ง
⇒มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 10 ที่นั่ง ปรับใหม่ 15 ที่นั่ง
⇒มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 16 ที่นั่ง
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต
⇒คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม 75 ที่นั่ง ปรับใหม่ 90 ที่นั่ง
⇒คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ 80 ที่นั่ง ปรับใหม่ 95 ที่นั่ง
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 120 ที่นั่ง ปรับเป็น 143 ที่นั่ง
⇒คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 85 ที่นั่ง ปรับใหม่ 113 ที่นั่ง
⇒คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม 20 ที่นั่ง
⇒คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ 20 ที่นั่ง
⇒คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 30 ที่นั่ง
⇒คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม 10 ที่นั่ง
⇒คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 120 ที่นั่ง
⇒คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม สถาบันเอกชน 20 ที่นั่ง
⇒คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สถาบันเอกชน 20 ที่นั่ง
⇒คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม 20 ที่นั่ง
⇒คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สาขาวิชาการบริบาลเภสัชกรรม 10 ที่นั่ง ปรับใหม่ 15 ที่นั่ง
2.จำนวนรับทั้งหมด
2,600 ที่นั่ง จำนวนลดลงจากปีที่แล้ว 2,622 ที่นั่ง โดยจำนวนรับอาจจะมีการเพิ่มขึ้น
3.คุณสมบัติของผู้สมัคร
⇒กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่6 หรือเทียบเท่า
สำหรับผู้สมัครหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต ต้องศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือกำลังศึกษาสายการเรียนวิทยาศาสตร์หรือเทียบเท่า
*กรณียื่นยันสิทธิ์ในรอบแรก รอบสอง กรณีจะมายื่นสอบกสพท หมอ จะไปหมอ ก็ไม่ได้ กรณีสอบติดทันตแพทย์ จะไปทันตแพทย์ ไม่ได้ ในสถาบันของรัฐ แต่ข้ามสาขาได้ อยู่ในมหาวิทาลัยเดียวกัน หรือต่างสถาบันได้ กติกาใหม่ ย้ำ เฉพาะในสถาบันของรัฐ
4.องค์ประกอบที่ใช้สมัคร
⇒วิชาสามัญ วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา) 40 % คณิตศาสตร์ 20 % ภาษาอังกฤษ 20 % ภาษาไทย 10 % สังคมศึกษา 10 % แต่ละวิชาต้องไม่น้อยกว่า 30 % จัดสอบโดย ทปอ
วิชาเฉพาะ 30 % จัดสอบโดย กสพท
5.เอกสารที่ใช้สมัคร
⇒รูปถ่าย
⇒บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาบัตรประชาชน ลงลายมือ-นามสกุล รับรองสำเนาถูกต้อง 1 ฉบับ
⇒สำเนาเอกสารคุณวุฒิ
อ่านต่อระเบียบการด้านล่าง
*คำเตือน ขอให้น้องอ่านระเบียบการให้รอบคอบก่อนสมัครสอบทุกครั้ง อ่านจนเข้าใจแล้วจึงจะสมัคร ไม่อย่างงั้น น้องอาจจะไม่ได้สอบวิชาเฉพาะนะ และเมื่อสมัครเสร็จให้กลับมาตรวจทานกสพท อย่างสม่ำเสมอว่าเอกสารผ่านไหม
6.ค่าสมัครสอบ
750 บาท ที่ธนาคาร app ไทยพาณิชย์
รายละเอียดเพิ่มเติม
ระเบียบการรับสมัคร กสพท 65 <<คลิกอ่านที่นี่>>
เว็บไซต์รับสมัครสอบ กสพท 65 <<คลิกสมัครที่นี่>>
เว็บไซต์รับสมัคร mytcas รอบที่3 admission <<คลิกสมัครที่นี่>>
กำหนดการสอบ GAT-PAT และ วิชาสามัญ ปีการศึกษา2565 <<คลิกอ่านที่นี่>>
———————————————————
ติดตามช่องทางรับการข่าวจากลิงค์ด้านล่างได้เลยนะครับ มีข่าวรับตรง ค่าย ทุนตั้งแต่ม.ปลายถึงปริญญาเอก รอให้น้องสมัครอยู่
คลิกติดตามข่าวทางเพจFacebook ที่นี่
คลิกติดตามข่าวทางtwitter
IG @sangfans หรือ https://www.instagram.com/sangfans/
———————————————————